เบญจภาคีเหรียญหล่อ


สุดยอดเบญจภาคีเหรียญหล่อ
เบญจภาคี ชุด พระเหรียญหล่อพระเกจิอาจารย์
ประกอบด้วย

๑. เหรียญจอบ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ แห่งวัดบางคลาน หรือวัดหิรัญญาราม (เดิมมีชื่อว่า วัดวังตะโก) อ.โพทะเล จ.พิจิตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๓๕๑ มรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๒ รวมอายุได้ ๑๑๑ ปี พรรษาที่ ๙๐ เมื่อปี ๒๕๑๕ วัดก็สร้างพระหลวงพ่อเงินโดยทำพิธีกันถึง ๓ วาระ ปรากฏเหตุอัศจรรย์พระอาทิตย์ทรงกลด ราหูอมพระอาทิตย์ จนทำให้หลวงพ่อเงิน ปี ๒๕๑๕ โด่งดังอย่างรวดเร็ว

๒.เหรียญจอบ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
“เหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ ปี ๒๔๗๘” สร้างเป็น ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองฝาบาตรและเนื้อสัมฤทธิ์กลับดำ มีทั้งหมด ๒ พิมพ์ คือ ๑.เหรียญพิมพ์จอบใหญ่ ลักษณะพิมพ์ทรงเป็นสี่เหลี่ยมยอดมน คล้ายจอบขุดดิน ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อไปล่ นั่งสมาธิเต็มรูปบนฐานอาสนะชั้นเดียว ภายในกรอบเส้นลวดนูน 2 ชั้น ด้านหลัง พื้นเรียบ มีอักษรไทยจารึกว่า “ที่ระฤก ๒๔๗๘“

๓.เหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
เหรียญเจ้าสัว พระเครื่องซึ่งมีกิตติคุณทางโชคลาภเป็นเยี่ยมของ หลวงปู่บุญ นอกจากพุทธานุภาพเป็นเอกทางโชคลาภแล้ว ยังมีกฤตยานุภาพทางแคล้วคลาดเป็นเยี่ยมอีกด้วย นับเป็นพระเครื่องอีกชนิดหนึ่งของ หลวงปู่บุญ ที่ค่อนข้างหาได้ยาก เพราะผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน ด้วยมีประสบการณ์ทางโชคลาภกันอยู่เสมอ แม้จะเอาทรัพย์สินมาแลกก็ยังไม่สนใจ เพราะมั่นใจว่าหากมี เหรียญเจ้าสัว แล้วการแสวงหาทรัพย์สินก็มิใช่เป็นเรื่องยาก คนนครชัยศรี หลายคนทีเดียวที่มีฐานะมั่งคั่งขึ้นด้วยบารมีของ เหรียญเจ้าสัว หลวงปู่บุญ เรียกว่า เหรียญเจ้าสัว สมชื่อที่เรียกขาน ใครมีไว้ไม่อดตาย ถ้ารู้จักทำมาหากิน บารมีแห่งเหรียญนี้ก็จะช่วยเสริมส่ง

๔.เหรียญหล่อ หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน
เหรียญหล่อแซยิดหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่รอด มีข้อความว่า "งานแซยิด พุทฺธสัณโฑ พ.ศ. ๒๔๗๗" และมีข้อความว่า "วัดบางน้ำวน" อยู่ข้างๆ หลวงปู่ ด้านหลังเรียบ มีหูในตัว เททองหล่อด้วยเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองโบราณ เงินโบราณ เครื่องใช้สำริด และแผ่นยันต์แผ่นจารต่างๆ

๕.รูปหล่อเหรียญหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตก
เหรียญหล่อแซยิดหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2477 ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนหลวงปู่รอด มีข้อความว่า "งานแซยิด พุทฺธสัณโฑ พ.ศ. ๒๔๗๗" และมีข้อความว่า "วัดบางน้ำวน" อยู่ข้างๆ หลวงปู่ ด้านหลังเรียบ มีหูในตัว เททองหล่อด้วยเนื้อสำริดมีส่วนผสมของทองโบราณ เงินโบราณ เครื่องใช้สำริด และแผ่นยันต์แผ่นจารต่างๆ

พุยพุย